วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

วิธีการฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน



เบาหวาน (Diabetes Mellitus)

     เป็นโรคที่เรื้อรังและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สิ่งที่ทำได้คือการประคับประคองไม่ให้เกิดอาการของโรคแทรกซ้อนซึ่งจะทำให้อาการหนักมากขึ้น เบาหวานเป็นโรคที่หากไม่เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาแต่หากเกิดขึ้นกับตัวเองแล้วจะเกิดอาการกลัว ตกใจและสับสนซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเบาหวานเอง



สุขภาพจิตของผู้ป่วยเบาหวานจะแสดงออกได้หลายลักษณะ บางคนเมื่อรู้ว่าเป็นเบาหวานจะเกิดการต่อต้านและรู้สึกฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายที่ต้องมีภาระในการบำบัดรักษาเบาหวานทำให้กิจวัตรประจำวันของตนเองต้องเปลี่ยนไป บางคนอาจเกิดอาการไม่ยอมรับความจริง ไม่กล้าไปพบแพทย์ ไม่ยอมรับฟังคำอธิบายเกี่ยวกับโรคเบาหวานจากใครทั้งสิ้น บางคนเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นเบาหวานจะพยายามปกปิดและทำตัวเหมือนไม่ได้เป็นเบาหวาน เมื่อต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็จะพยายามควบคุมทุกอย่างให้คนรอบข้างเห็นว่าไม่ได้เป็นเบาหวานแต่หลังจากนั้นก็ปล่อยปละละเลยเช่นเดิม


     ผู้ป่วยเบาหวานบางคนก็ยอมรับความจริงให้ความร่วมมือและพยายามที่จะบำบัดรักษาโรคเบาหวานที่เกิดกับตัวเอง ไม่ว่าสุขภาพจิตและอารมณ์ของผู้ป่วยเบาหวานจะแสดงออกมาในลักษณะใด สมาชิกในครอบครัวหรือคนรอบข้างควรเข้าใจและให้กำลังใจพยายามอธิบายให้ผู้ป่วยเบาหวานเข้าใจถึงสาเหตุและวิธีการรักษาโรคเบาหวานด้วยความมีเหตุมีผล ให้ผู้ป่วยเบาหวานพยายามปรับตัวให้เข้ากับกิจวัตรประจำวันในรูปแบบใหม่เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถอยู่กับเบาหวานได้อย่างคนปกติ

     สิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องปรับตัวคือ หมั่นมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอและตั้งใจปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ด้วยความพยายาม การปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์จะมีเป้าหมายอยู่ที่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับคนปกติโดยมีแผนการรักษาคือ ควบคุมอาหาร(ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร) ออกกำลังกายและมาพบแพทย์ตามกำหนดเพื่อตรวจร่างกายและประเมินอาการโรคเบาหวานเพื่อหาทางปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาโรคเบาหวานให้เหมาะสมกับตัวผู้ป่วย

     สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถเผชิญหน้าและอยู่กับโรคเบาหวานได้คือ ตัวผู้ป่วยเอง หากตัวผู้ป่วยท้อแท้ไม่ยอมช่วยเหลือตัวเองหรือให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาเบาหวานก็ยากที่จะประคับประคองให้อยู่กับโรคเบาหวานอย่างปกติสุขได้ คนรอบข้างหรือสมาชิกในครอบครัวคงทำได้แค่ให้กำลังใจ ปลอบใจ อธิบายด้วยเหตุผลเพื่อให้ตัวผู้ป่วยเองเกิดความรักตัวเองและเข้าใจถึงความห่วงใยของคนรอบข้างทำให้เกิดกำลังใจในการรักษาตนเอง ถึงแม้โรคเบาหวานไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่มีคนจำนวนมากที่ตั้งใจรักษาดูแลสุขภาพพยายามควบคุมและอยู่กับโรคเบาหวานจนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เหมือนกับคนปกติ

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

ประเมินผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยใช้กรอบอ้างอิง Biopsychosocial model ในการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆของผู้ป่วยดังนี้
Biopsychosocial model 
Biological  ฮอร์โมน Insulin ในร่างกายผิดปกติ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง, และเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง รวมถึงเมื่อเกิดบาดแผลจะทำให้แผลนั้นหายได้ยาก, บางคนมีโรคอ้วนเกิดขึ้นร่วมด้วย ทำให้มีอาการล้าในการทำกิจกรรม มีปัญหากับกระดูกและข้อต่อ
Psychological  ความเครียดจากสภาพจิตใจไม่ควรให้เกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะเบาหวานมักจะมีโรคความดันสูงร่วมด้วย อาจทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตกได้ การสร้างความคิดในการควบคุมน้ำตาลจากการกินก็มีส่วนช่วยลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้น
Sociological   อาหารจานด่วนจากตะวันตก เป็นค่านิยมที่สร้างให้บริบทสังคมไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น และคนที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วก็ทำให้แย่ลงไปอีก
จากนั้นก็ประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน ว่าสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ หรือลดลง ถ้าลดลงให้ทำการให้แผนการบำบัดฟื้นฟูตามส่วนที่สำคัญให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้
ให้คำแนะนำทั้งผู้ป่วย และญาติเกี่ยวกับโปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับนักกายภาพบำบัด รวมถึงการจัดท่าทางในการนั่ง – นอนเพื่อป้องกันแผลกดทับ
ปรับสภาพแวดล้อมต่างๆให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้แรงมากในการเอื้อมหยิบจับ และลดกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก ควบคุมเมนูอาหารให้เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และเมื่อทำการให้คำแนะนำ บำบัดฟื้นฟูแล้ว ก็นัดผู้ป่วยกลับมาประเมินอีกรอบเพื่อดูผลลัพธ์ การตั้งเป้าประสงค์ที่ดีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยเบาหวาน

อ้างอิง 


แนวทางในการป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน


การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน   


       เบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คนที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บป่วย ไม่มีความไม่สบายกายแต่อย่างใดเป็นระยะเวลานาน จึงมักจะไม่อยากมาพบแพทย์ตามนัด หรือมาตรวจพบว่าเป็นเบาหวานได้รับยาไปครั้งหนึ่ง ครั้งต่อๆ ไปมักจะซื้อยากินเอง จึงมักพบว่าส่วนหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานานและไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติอย่างสม่ำเสมอจะเกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเมื่อมีความรุนแรงมากขึ้นจะเกิดความเจ็บป่วยทรมานอย่างถาวร

  การดูแลสุขภาพทั่วไปในชีวิตประจำวัน  


1. ควบคุมเบาหวาน ให้ระดับน้ำตาลใกล้เคียงคนปกติ 
2. รับประทานยาสม่ำเสมอ 
3. อาจจะมีการติดตามตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง 
4. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอครั้งละ 20-30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง โดยเลือกรับประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายตนเอง 
5. พยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การรับประทานอาหารให้เหมาะสม และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี อย่าปล่อยให้น้ำหนักขึ้นหรืออ้วน เพราะจะทำให้การคุมเบาหวานยากขึ้น 
6. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-ก่อนนอน ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ หลังอาหารทุกมื้อควรบ้วนปากทุกครั้ง เพื่อเอาเศษอาหารที่ติดค้างออกจนหมด ใช้แปรงสีฟันที่ขนไม่แข็งจนเกินไป7. อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ใช้สบู่ที่มีฤทธิ์อ่อน รักษาความสะอาดบริเวณซอกอับ เช่น ขาหนีบ ใต้ราวนม อวัยวะขับถ่าย เป็นพิเศษ และหลีกเลี่ยงการอับชื้น
8. ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดาและสบู่อ่อนๆ ทุกวัน ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้าขนหนู โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า
9. สวมเสื้อผ้าแห้ง สะอาด ระบายอากาศได้ดี และควรเปลี่ยนทุกวัน
10. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง
11. หลีกเลี่ยงความเครียดทางอารมณ์ ในภาวะเครียดร่างกายและฮอร์โมนต่างๆ จะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้
12. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6 แก้ว
13. ควรพบแพทย์สม่ำเสมอตามนัด แม้จะรู้สึกสบายดี เพื่อรับการตรวจสุขภาพและคำแนะนำที่ถูกต้อง พร้อมปรับแผนการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากโรคแทรกซ้อนที่เกิดในโรคเบาหวานส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นก่อนที่ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวหรือมีอาการ

  สุขภาพตา 
  
      ผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลในเลือดคุมได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนทางตาได้ง่าย เช่น ต้อกระจก ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเร็วก่อนวัย การเสื่อมของจอรับสายตา จึงควรที่จะ
                                                                                    







1. พบจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพตา จะตรวจโดยการขยายม่านตา แม้ว่าสายตายังมองเห็นชัดดี ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (มักพบในเด็ก หรือคนอายุน้อย) ควรเริ่มได้รับการตรวจตาเมื่อเป็นเบาหวานมาแล้ว 5 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (ส่วนใหญ่จะมีอายุมากกว่า 40 ปีและมักจะอ้วน ร่วมกับมีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว) ควรได้รับการตรวจตาตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
2. การตรวจโดยการขยายม่านตา จะทำให้ผู้ได้รับการตรวจมีอาการตามัว 3-4 ชั่วโมงหลังการตรวจ จึงไม่ควรขับรถมาเองในวันที่ตรวจตา หรืออาจจะมีญาติมาด้วย เพื่อที่จะพากลับบ้านได้สะดวก3. ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ควรได้รับการตรวจตาทุก 3 เดือน
       การจะวัดสายตาประกอบแว่น ทั้งสายตาสั้นหรือยาวผิดปกติ ควรจะทำเมื่อควบคุมเบาหวานได้ดีแล้ว ถ้ามีอาการผิดปกติทางตา เช่น ตามัวทันที มีอาการปวดตามาก เห็นภาพ หรือเส้นลอยในตา ควรปรึกษาจักษุแพทย์

สุขภาพช่องปากและฟัน   
 
      ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดเหงือกและฟันอักเสบมากกว่า และรุนแรงกว่าคนปกติ ขณะเดียวกันในผู้ป่วยที่มีโรคเหงือกและฟันอักเสบก็จะทำให้การควบคุมเบาหวานทำได้ยาก
1. ควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ฟันและ จาก   ทันตแพทย์ทุก 6 เดือน                
 2. หมั่นรักษาความสะอาดของช่องปากและฟัน แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง               
 3. เมื่อมีเลือดออกบริเวณเหงือกหลังจากรับประทานอาหารหรือแปรงฟัน อาจจะแสดงถึงเมื่อมีการอักเสบของเหงือก หรือเมื่อมีฝ้าขาวของเชื้อราในช่องปาก ควรปรึกษาทันตแพทย์

สุขภาพเท้า  
      สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่เท้า คนไข้เบาหวานมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าได้มากกว่าคนปกติจาก
1. การที่เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม จากน้ำตาลในเลือดสูงอยู่นานๆ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเหยียบของมีคม หรือถูกกดรัดนานๆ หรือโดนความร้อน จึงทำให้เกิดแผลโดยไม่รู้ตัว    
2. เส้นประสาทอัตโนมัติเสื่อม ผิวหนังแห้ง ไม่มีเหงื่อ เกิดการคันง่าย เมื่อเกาเกิดเป็นแผลแตกติดเชื้อ                
3. หลอดเลือดส่วนปลายที่ไปเลี้ยงเท้าตีบตัน เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของเท้า เกิดเนื้อตายง่าย หรือเมื่อเกิดเป็นแผลหายยาก                
4. ติดเชื้อง่าย น้ำตาลในเลือดที่สูงๆ ทำให้ความสามารถของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดเชื้อลดลง เมื่อติดเชื้อโรคจะลุกลามเร็ว


วิธีดูแลเท้า

1. ล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำธรรมดาและสบู่อ่อนๆ ไม่ใช้แปรงหรือ ขนแข็งๆ ขัดเท้า ไม่ควรแช่เท้าด้วยน้ำร้อน ถ้าจะทำก็อาจใช้น้ำอุ่นน้อยๆ และไม่แช่นานเกิน 5 นาทีไม่ใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางบนขา หรือ เท้า   
  
2. ถ้าผิวแห้งคัน ทาครีมบางๆ โดยเว้นบริเวณซอกนิ้วเท้าและรอบเล็บ ถ้าผิวหนังชื้นให้โรยด้วยแป้งฝุ่น

3. สำรวจเท้าตนเองทุกวัน ว่ามีรอยแผล เม็ดพอง ผิวหนังสีคล้ำ โดยตรวจทั่วทั้งฝ่าเท้า ส้นเท้า ซอกนิ้ว รอบเล็บ บริเวณที่ยากต่อการดู เช่น ส้นเท้า ฝ่าเท้าอาจใช้กระจกช่วย ถ้าไม่สามารถตรวจได้ด้วยตนเอง ควรให้ญาติช่วยดูให้ ถ้าพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

4. ไม่ควรเดินเท้าเปล่า ทั้งในบ้านและนอกบ้าน ควรสวมรองเท้าตลอดเวลา

5. ควรสวมถุงเท้าทุกครั้งที่สวมรองเท้า ใช้ถุงเท้าฝ้ายเนื้อนุ่มไร้ตะเข็บ เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดีและไม่เกิดการเสียดสี ถุงเท้าไม่รัดแน่นจนเกินไป

6. ห้ามตัดตาปลา หนังหนาๆ หรือใช้น้ำยาแรงๆ จี้หูดด้วยตนเอง

7. การตัดเล็บเท้า ให้ตัดเล็บตรงๆ เสมอปลายเท้า  อย่าตัดเล็บโค้งเข้าจมูกเล็บ หรือตัดลึกมาก เพราะจะเกิดแผลได้ง่าย

8. ควรตัดเล็บหลังล้างเท้า หรืออาบน้ำใหม่ๆ เพราะเล็บอ่อนตัดง่าย ถ้าตามองเห็นไม่ชัด ควรให้ผู้อื่นตัดเล็บให้

9. ไม่ใช้วัตถุแข็งๆ แคะซอกเล็บ เพราะอาจจะเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่าย

10. ถ้ามีเล็บขบ หรือมีบาดแผล ควรปรึกษาแพทย์

11. บริหารเท้าเป็นประจำทุกวัน จะช่วยการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเท้าได้ดีขึ้น

12. ไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดเส้นเลือดตีบตันทำให้การไหลเวียนเลือดลดลง

การเลือกและการใช้รองเท้า

1. เลือกรองเท้าที่ขนาดพอเหมาะ ไม่คับหรือหลวมเกินไป ขนาดรองเท้ายาวกว่านิ้วเท้า ที่ยามที่สุดประมาณครึ่งนิ้ว ส้นไม่สูง รองเท้าที่มีแผ่นรองรับแรงกระแทกภายใน จะช่วยลดแรงกดในฝ่าเท้าได้ดี เช่น รองเท้ากีฬา

2. การซื้อรองเท้า  ควรเลือกซื้อช่วงบ่ายหรือเย็นเนื่องจากเท้าจะขยายตัวเต็มที่


3. ควรเลือกรองเท้าหนัง หรือรองเท้ากีฬา เพราะจะระบายอากาศได้ดีกว่ารองเท้าพลาสติก

4. เลือกรองเท้าที่มีเชือกผูก หรือสายรัด เพื่อลดการเสียดสีของเท้ากับรองเท้าขณะสวม

5. ก่อนใส่รองเท้า ให้ตรวจในรองเท้าว่ามีสิ่งแปลกปลอม เช่น กรวด ทราย ดิน ตะปู แมลง อยู่หรือไม่ เพื่อป้องกกันการเกิดแผล

6. เมื่อใช้รองเท้าคู่ใหม่ ควรเริ่มสวมครั้งละประมาณ 20-30 นาที แล้วเปลี่ยนเป็นคู่เก่า และค่อยๆปรับเพิ่มเวลา ตามความเหมาะสม

7. คอยสังเกตุตุ่มพอง รอยแตกทุกครั้งหลังใส่รองเท้าใหม่

8. ควรมีรองเท้าใส่สลับกันหลายคู่

แนวทางการบริโภคอาหารที่ดีในผู้ป่วยเบาหวาน 



       เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า  เบาหวานเกิดจากความไม่สมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดกับจำนวนอินซูลินที่หลั่งออกมาจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนเมื่อร่างกายมีระดับอินซูลินที่ไม่เหมาะสมกับระดับน้ำตาลในเลือด  มีน้อยไปหรือออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควรจึงเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติซึ่งนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั่วร่างกาย  เช่น  เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต หลอดเลือดแดงตีบและตัน ซึ่งทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคสมองขาดเลือด โรคปลายประสาทเสื่อม เป็นต้น  
        การเลือกกินอาหารที่ถูกต้อง จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี ป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนลงได้ ผู้ที่เป็นเบาหวานควรที่จะศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ ปรึกษาแพทย์ นักโภชนาการ เกี่ยวกับวิธีการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของแต่ละบุคคล โรคปลายประสาทเสื่อม เป็นต้น

        ข้อสำคัญพึงตระหนักว่า  การคุมอาหารมิใช่การอดอาหาร แต่เป็นการปรับปริมาณและชนิดให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล ทั้งนี้จะต้องเปลี่ยนอุปนิสัยการบริโภคซึ่งควรจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิให้เกิดความเครียด พึงคิดเสมอว่าอาหารที่เหมาะสมสำหรับคนเป็นเบาหวาน ก็มิได้แตกต่างจากอาหารที่คนทั่วๆ ไปควรจะรับประทานแต่คนเรามักจะตามใจปาก มิได้คำนึงถึงคุณภาพของอาหารที่รับประทานเข้าไปว่าจะเป็นประโยชน์หรือให้โทษแก่ร่างกาย คิดถึงแต่ความอร่อย ฉะนั้นการปรับอุปนิสัยในการบริโภคเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้คนที่เป็นเบาหวานควบคุมโรคได้ดีขึ้นเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติ คนไข้เบาหวาน ควรจะเรียนรู้อาหารคาร์โบไฮเดรต 3 ประเภท 

icecream.jpg         1) ประเภทต้องห้าม  ได้แก่
 - อาหารน้ำตาลและเบาหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สัขยา
 - ผลไม้กวนต่างๆ เช่น ทุเรียนกวน น้ำหวานต่างๆ น้ำอัดลม น้ำผลไม้
 - นมข้นหวาน
 - ผลไม้เชื่อม ผลไม้กระป๋อง

         2) ประเภทรับประทานได้ในปริมาณพอเหมาะ
- อาหารพวกแป้ง ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมจีน
- ผักประเภทหัว ที่มีส่วนประกอบของแป้งหรือน้ำตาลมาก เช่น เผือก มัน มันฝรั่ง ฟักทอง แครอท
- ผลไม้ต่างๆ


fruit_01.jpgการเลือกรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตให้ได้คุณภาพ ควรคำนึงถึงปัจจัย 2 อย่าง คือ
        1. ปริมาณใยอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้น
        2. ไกลซีมิค อินเดกซ์ (Glycemic Index)
 



ใยอาหาร  จะทำให้การดูดซึมอาหารช้าลง จึงควรจะได้รับใยอาหารวันละประมาณ   40 กรัม
ไกลซีมิคอินเดกซ์  เป็นการวัดการดูดซึมของอาหารเปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐานถ้า

ไกลซีมิค อินเดกซ์ มีค่าเท่ากับ 100 แสดงว่า   ดูดซึมได้เร็วเท่าอาหารมาตรฐาน
                             ถ้าค่าต่ำกว่า 100  แสดงว่า  อาหารนั้นดูดซึมช้า
                               ถ้ามากกว่า 100  แสดงว่า  ดูดซึมมากกว่าอาหารมาตรฐาน


อาหารที่ควรรับประทานในคนเบาหวาน คือ อาหารที่มีไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำ



* ข้อมูลจากหนังสือ การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน พิมพ์คัร้งที่ 3 โครงการตำราอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยา ศรีดามา บรรณาธิการ *
 

         3) ประเภทรับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน 
        ได้แก่  ผักใบเขียวทุกชนิด ผักกาด ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ต้นหอม บวบ ใบโหระพา ใบสะระแหน่ แตงกวา แตงล้าน สายบัว พริกหนุ่ม เป็นต้น

        ปริมาณพลังงาน และอาหารที่ควรได้รับในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
        เนื่องจากเกือบครึ่งของคนไข้ประเภทนี้ มักจะมีภาวะโภชนาการเกิน และกินอาหารโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่ดี ทำให้มีปัญหาในการรักษาน้ำหนักตัวระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด การลดพลังงานอาหารลงไปบ้าง โดยกำหนดให้ประมาณวันละ 20-25 แคลอรี่ ต่อ กิโลกรัมน้ำหนักตัวมาตรฐาน จะช่วยลดน้ำหนัก จะช่วยลดน้ำหนักตัวอย่างช้าๆ และคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
        ในคนมีน้ำหนักตัวปกติ ควรจะได้พลังงาน 25-30 แคลอรี่ / กิโลกรัม-น้ำหนักตัวมาตรฐาน


       สัดส่วนของพลังงานอาหารที่เหมาะสม  คือ


       * อาหารโปรตีน  ที่ควรจะได้รับควรเป็น  โปรตีนที่มีคุณภาพดี และมีไขมันต่ำ ได้แก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือหนัง ปลา เต้าหู้ ประมาณ 10-14 ช้นโต๊ะ/วัน
       * อาหารไขมัน  ควรจะเป็นไขมันอิ่มตัวที่ได้จากสัตว์น้อยที่สุด เพราะไขมันจากสัตว์จะเป็นตัวส่งเสริมให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
        ลดการใช้น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ใช้น้ำมันรำข้าว ถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก ในการปรุงอาหาร ควรประกอบอาหารด้วยวิธีต้ม ย่าง นึ่ง หลีกเลี่ยงของทอด ถ้าจะผัดควรใช้น้ำมันจำนวนน้อย

ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการกินอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย (โภชบัญญัติ 9 ประการ)
จะช่วยเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยเบาหวานได้ โดยมีหลักปฏิบัติ ต่อไปนี้  

1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินให้พอกับความต้องการของร่างกายและกินดี  คือ แต่ละหมู่ให้หลากหลายไม่ซ้ำซากและจำเจ
2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก ถ้าเป็นข้าวที่มีใยอาหารด้วยจะดี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ อาหารข้าวอาจจะสลับกับอาหารแป้งเป็นบางมื้อได้ เช่น เป็นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ขนมจีน
3. กินพืชผักให้มาก กินผลไม้ประจำและพอเหมาะ
4. กินปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นประจำและพอเหมาะ
5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
7. หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด
8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
9. งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
   


อ้างอิง  
http://www.hangdong.com/webdmclinic.htm

เรื่องของเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน




      แผลหรือปัญหาของเท้าเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยพิการ และอาจถึงเสียชีวิตได้ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีปัญหาเรื่องเส้นประสาทที่ปลายเท้าเสื่อม

     ซึ่งหากมีอาการบาดเจ็บที่เท้า อาจไม่ทราบความรู้สึก นอกจากมีเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงปลายเท้าในผู้ป่วยตัน ทำให้สารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณ เท้าลดน้อยลง ดังนั้นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยจึงอาจเป็นผลร้ายแรงที่รักษาได้อาการ หากขาดการดุแลรักษาจากแพทย์ แผลนั้นอาจรุนแรงจึงถึงขั้นต้องตัดเท้า
โดยมีลักษณะของอาการ    ดังต่อไปนี้
 • เท้ามีแผล ผิวเปลี่ยนสี มีตาปลาหรือรอยหนาด้านปูดโปนมากบวม มีตุ่มพอง หรือมีร่องรอยการบาดเจ็บอื่นๆ
 • เกิดเชื้อราที่เท้า
 • เล็บขบ เท้ามีรอยแดง หรือผิวแห้งแตก
 • ปวดเท้า รู้สึกชา หรือเจ็บแปลม และรู้สึกแสบร้อนในเท้า

ข้อพึงระวังและปฏิบัติในการดูแลเท้า สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

สำรวจเท้าด้วยตนเองทุกวัน ถ้ามีบาดแผล รอยซ้ำ ผิวเปลี่ยนสี หรือตุ่มพอง แม้นเพียงเล็กน้อย ต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที
รักษาเท้าให้สะอาด ล้างทุกวัน และเช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะที่ซอกนิ้วเท้า
ถ้าผิวแห้งเกินไปให้ทาวาสลีน หรือครีมบางๆ เนื่องจากผิวแห้ง อาจทำให้เกิดอาการคัน มีการเกิดรอยแตกได้ง่าย

การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมดังนี้
ควรเลือกซื้อรองเท้าในช่วงบ่าย เพราะเป็นเวลาที่เท้าขยายตัวมากที่สุด
ขนาดความยาว ของรองเท้าขณะยืน ควรจะยาวกว่านิ้วเท้าที่ยาวที่สุดประมาณครึ่งนิ้ว
ส่วนกว้างของรองเท้าควรจะอยู่บริเวณโคนของหัวแม่เท้า
ไม่หลวมหรือคับเกินไป และควรเป็นรองเท้าหุ้มสัน
วัสดุที่ใช้ทำรองเท้าควรมีลักษณะนิ่ม ควรเป็นชนิดที่มีเชือกผูก เพื่อให้ปรับได้ง่ายเวลาที่เท้าขยายตัว
ถ้ารองเท้าใหม่อย่าสวมนานเกินวันละครึ่งถึง 1 ชั่วโมง หากใส่รองเท้าคู่ใดเกิดรอยแดงรอยด้าน หรือตุ่มพองที่เท้า นั่นเป็นสัญญาณเตือนของรองเท้าที่ไม่เหมาะสม
ไม่ควรใช้รองเท้าแตะชนิดที่มีคีบง่ามนิ้วเท้า
ถ้ามีหูดหรือตาปลาควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตัดบางๆ ทุก 6-7 สัปดาห์
งดสูบบุหรี่เมื่อเกิดแผลที่เท้า

      ถ้าเป็นแผลขนาดเล็ก หรือตุ่มพอง รักษาบาดแผลให้สะอาดทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสุกที่ทิ้งไว้จนเย็นและสบู่อ่อน วับแผลให้แห้ง ทายาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ เช่นน้ำยาเบตาดีน หรือยาปฏิชีวนะที่เป็นครีม หลีกเลี่ยงการใช้ยาทิงเจอร์ไอโอดีน ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซที่สะอาด ถ้ามีแผลและไม่ดีขึ้น อักเสบบวมแดงควรไปพบแพทย์

การรักษาควรจะตรวจเท้าอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
 ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจการไหลเลือดเวียนเลือด
 ตรวจดูว่ามีอาการแสดงของเส้นประสาทเสื่อมหรือไม่
 ตรวจแผล รอยแตก หูด ตาปลา และลักษณะเล็บ

หลักการควบคุมโรคเบาหวาน


หลักการควบคุมโรคเบาหวาน

เป็นที่ทราบกันดีว่าการควบคุมโรคเบาหวานที่ดีสามารถลดโรคแทรกซ้อนได้ครึ่งหนึ่ง โดยเฉพาะโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับ ตา [diabetic retinopathy] ไต [diabetic nephropathy] และปลายประสาทอักเสบ [diabetic neuropathy] การควบคุมโรคเบาหวานที่ดี ท่านผู้อ่านต้องรักษาความสมดุลของอาหาร การออกกำลังกาย และยาในการรักษาโรคเบาหวานขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และชนิดของโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยเป็น การรักษาและควบคุมโรคเบาหวานอย่างถูกต้อง อาจช่วยป้องกันอาการโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว
เป้าประสงค์ของการรักษาโรคเบาหวาน 
      การควบคุมน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติจะ ทำให้เกิดผลดีหลายประการคือ
  1. สามารถลดโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน เช่น ภาวะคีโตซีส [ diabetic ketoacidosis],ช็อกจากน้ำตาลในเลือดสูง  [hyperosmolar hyperglycemic nonketotic syndrome]
  2. ลดอาการเนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูง ตามัว น้ำหนักลด หิวบ่อย เพลีย ช่องคลอดอักเสบ
  3. ลดโรคแทรกซ้อนทาง ตา [diabetic retinopathy]ไต [diabetic nephropathy] ปลายประสาทอักเสบ [neuropathy]
  4. ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแข็ง เช่นทำให้ไขมันในเลือดใกล้เคียงปกติ
แพทย์จะกำหนดว่าผู้ป่วยแต่ละคนที่ดูแลรักษาอยู่ควรจะควบคุมระดับน้ำตาล ความดันโลหิต ระดับไขมัน อยู่ในเกณฑ์เท่าใดขึ้นอยู่กับอายุ โรคร่วม พฤติกรรมการดำรงชีวิต ฐานะ  ความร่วมมือตารางข้างล่างจะแสดงระดับเป้าหมายของความดัน น้ำตาล ไขมัน น้ำหนัก ดัชนีมวลกายและความถี่ของการตรวจ

เกณฑ์การควบคุมเบาหวานที่ดี
การตรวจวัด
คนปกติ
เป้าหมาย
ระดับที่ต้องแก้ไข
ความถี่ของการตรวจ
น้ำตาลหลังงดอาหาร 8 ชม.
Fasting blood sugar
<110 (มก%)
80-120 (มก%)
<80 หรือ >140 (มก%)
 ทุกครั้งที่พบแพทย์
น้ำตาลหลังอาหาร 1 ชม.
Post pandrial blood sugar

100-160 (มก%)
<100 หรือ >160 (มก%)
ตามแพทย์สั่ง
ใช้ในกรณี tight control
น้ำตาลก่อนนอน
Bedtime glucose
<120 (มก%)
100-140 (มก%)
<100 or >160 (มก%)
ตามแพทย์สั่ง
ใช้ในกรณี tight control
น้ำตาลกลัยโคไซเลสเต็ด
HbA1c
<6%
<7%
>8%
เบาหวานควบคุมดีตรวจปีละ 2 ครั้ง 
เบาหวานคุมไม่ดีตรวจปีละ 4 ครั้ง
ความดันโลหิต
120/80
130/85 mmHg
> 130/85 mmHg
วัดทุกครั้งที่พบแพทย์ 
LDL-Cholesterol
<130 (มก%)
<100 (มก%)
> 100 (มก%)
 ถ้าปกติปีละครั้ง
ถ้าผิดปกติตรวจตามแพทย์สั่ง
HDL-Cholesterol
>45 (มก%)
>45(มก%)
<35(มก%)
 ถ้าปกติปีละครั้ง
ถ้าผิดปกติตรวจตามแพทย์สั่ง
Triglyceride
<200(มก%)
<200 (มก%)
>200 (มก%)
 ถ้าปกติปีละครั้ง
ถ้าผิดปกติตรวจตามแพทย์สั่ง
ดัชนีมวลกาย
Body mass index
20-25
20-25
<20 or >25
ชั่งน้ำหนักทุกครั้งที่พบแพทย์


       ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาผลการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่สองต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว จนกระทั่ง /ข- ปีที่ผ่านมามีการศึกษาถึงผลการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่2 โดยมีประเด็นว่าการควบคุมเบาหวานแบบเข้มงวด intensive (คุมระดับน้ำตาลโดยให้ HbA1c<6.5 ว่าจะมีผลต่อการเสียชีวิตหรือโรคแทรกซ้อนอย่างไร ซึ่งพอจะสรุปผลดังนี้
  • ผู้ป่วยที่เริ่มรักษาเบาหวานหลังจากเป็นมาไม่นาน
  • ผู้ป่วยที่มีระดับ HbA1c สูงไม่มาก
  • และยังไม่มีโรคแทรกซ้อนจากโรคหัวใจและหลอดเลือด
      สามกลุ่มดังกล่าวจะต้องคุมเบาหวานให้ดีที่สุดเพราะจะลดการเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาวลงได้โดยตั้งเป้า HbA1c<6.5 mg%
สำหรับผู้ป่วยดังต่อไปนี้การคุมเบาหวานแบบเข้มงวดจะทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ผู้ป่วยกลุ่ม
  • ผู้ที่เป็นเบาหวานมาในระยะเวลายาวนาน
  • มีประวัติเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ
  • มีโรคหลอดเลือดแข็ง
  • สูงอายุหรืออ่อนแอมาก
องค์ประกอบการรักษา
การรักษาเบาหวานให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้นต้องอาศัยองค์ประกอบดังนี้
  1. การเปลี่ยนพฤติกรรม
  2. ยารักษาเบาหวาน
  3. การประเมินการรักษา


การปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันโรคเบาหวาน





ปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้เป็นโรคเบาหวาน

1. โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีมีระดับน้ำตาลสูงในเลือด
2. การสูบบุหรี่
3. โรคอ้วน
4. มีชีวิตที่อยู่นิ่ง ๆ ไม่มีการออกแรง
5. ความดันโลหิตสูง
6. ระดับไขมันในเลือดสูง เช่น คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์
7. ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป
8. อายุสูงมากขึ้น
9. ประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
10. ดื่มเหล้าเบียร์มาก
11. สตรีวัยหมดประจำเดือน
12. ภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่ออินซูลินที่ร่างกายสร้างขึ้นไม่ออกฤทธิ์ทำงานได้เหมาะสม
13. กล้ามเนื้อหัวใจซีกซ้ายโต

 การควบคุมป้องกัน และลดความเสี่ยง ทำได้โดยพยายามลดความเสี่ยงทั้งหลายเหล่านั้นให้มากที่สุดที่จะทำได้ แม้ว่าปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุ  เพศ  และประวัติครอบครัว เป็นโรคบาหวานปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนไม่ได้ ควรคัดกรองควบคุมปัจจัยที่ทำได้ โดยการปรับปรุงวิถีชีวิต ดังนี้

- งดบุหรี่
- ลดความอ้วน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ลดความดันโลหิตสูง (ตรวจทุกครั้งที่ไปปรึกษา)
- แก้ไข ไขมันในเลือดที่ผิดปกติให้กลับคืนดี(ตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง)
- ควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้อยู่ในระดับที่ดี
- งด หรือ ลดดื่มเหล้า เบียร์ และของมึนเมา
- รักษาภาวะที่ดื้อต่ออินซูลิน
- รับประทานยาให้สม่ำเสมอตามคำสั่งของแพทย์ผู้รกษา
- ชีวิตที่มีสุขภาพซึ่งเหมาะสมจะปฏิบัติตัวอย่างไร

มื่อยังไม่เป็นเบาหวาน ควรปฏิบัติตัวเพื่อสุขภาพ ทำได้โดยปรับปรุงวิถีชีวิต คือ

1. ออกำลังกายให้มากขึ้น
2. เดินให้มากขึ้น ไม่อาศัยพาหนะถ้าทำได้
3. ระวังเรื่องอาหาร พวกอาหาร"จานด่วน" มักจะมีไขมันสูง
4. ระวังน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติไม่อ้วน ไม่ผอม 


ถ้าเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว เราสามารถช่วยสุขภาพของโรคหัวใจและหลอดเลือดให้บรรเทาได้ โดย 

- ลดน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ให้ต่ำลงมาให้เข้าเกณฑ์มาตรฐาน 
- ละเว้นการสูบบุหรี่ 
- รับประทานอาหารสุขภาพให้ได้สมดุลกัน คือ 
     1. ลดอาหารที่มีไขมัน 
     2. ลดอาหารเค็ม 
     3. ลดขนมหวาน ผลไม้หวาน 
     4. รับประทานอาหารจำพวกที่มีใยอาหารมากๆ รับประทานผักชนิดต่าง ๆ 
     5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 
     6. ควบคุมรักษาความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดให้ดี  

เหตุผลในการป้องกันโรคเบาหวาน
  1. การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกโรครวมทั้งโรคเบาหวาน หากไม่เป็นเบาหวานจะลดภาระทั้งตัวเอง ครอบครัว และประเทศ
  2. พบว่าผู้ที่มีน้ำตาลอยู่ระหว่า 100-125 มก.%จะมีโอกาศเป็นเบาหวานสูงมาก
  3. มีการตรวจหาภาวะ Prediabetes ซึ่งสะดวก ค่าใช้จ่ายไม่มาก และสามารถบ่งชี้การเป็นเบาหวานในอนาคต ได้แก่การตรวจน้ำตาลในเลือด การตรวตค่าน้ำตาลเฉลี่ย และการตรวจความทนทานต่อน้ำตาล oral glucose tolerance test
  4. มีแนวทางในการดูแลเพื่อป้องกันโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพ หากดูแลตัวเองได้ดีจะมีอุบัติการณ์ลดลงถึงร้อยละ 58
  5. ค่าใช่จ่ายในการคัดกรองไม่แพง
การป้องกันโรคเบาหวานทำได้หรือไม่
มีรายงานการป้องกันโรคเบาหวานมา 4 รายงาน
  • โดย 2 รายงานแรกใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้ลดน้ำหนักลงร้อยละ 5-8 % ลดปริมาณไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 10 ๔ เพิ่มอาหารที่มีใยอาหารมากกว่า 15 กรัม ออกกำลังกายมากกว่าสัปดาห์ละ 150 นาที ซึ่งผลการศึกษาพบว่าลดการเกิดโรคเบาหวานลงได้ 58%
  • ส่วนอีกสองรายงานใช้ยาในการป้องกันโรคเบาหวาน ผลสามารถลดการเกิดโรคเบาหวานลงได้ร้อยละ 36-56%
จากรายงานดังกล่าวโรคเบาหวานสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้ยา จึงได้มีการกำหนดแนวทางในการป้องกันโรคเบาหวาน
ใครที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน(ในประเทศอเมริกาเรียก prediabetic) หมายถึง ภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน
จากหลักฐานของการศึกษาที่ผ่านมา สรุปว่ากลุ่มคนที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ จะต้องตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงว่าต่อไปอนาคตจะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่
  1. ผู้ป่วยอายุ 45 ปีและมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25อ่านการคำนวนดัชนีมวลกาย
  2. อายุน้อยกว่า 45 ปี และมีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 25 และมีโรคเหล่านี้
  • ญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดสูงง
  • เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ผู้ที่เป็น IFG,IGT
สำหรับชาวเอเซียแนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกายเท่ากับ 23

กลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวานหรือกลุ่ม Prediabeticจะมีค่าผลเลือดเป็นอย่างไร
  1. เจาะเลือดหาระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงหากมีน้ำตาล100-125 %
  2. ให้รับประทานน้ำตาล 75 กรัมหากเจาะระดับน้ำตาลที่ 2 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 140-199
  3. ค่าน้ำตาลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง(HA1C) 5.7–6.4%
หากท่านได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น prediabetes ท่านต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานดังต่อไปนี้

วิธีการป้องกันโรคเบาหวาน

วิธีการป้องกันโรคเบาหวานสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งมีวิธีดังนี้
  • ลดน้ำหนักงลงให้ได้ร้อยละ5-7 จากน้ำหนักเบื้องต้น โดยเฉพาะผู้ที่อ้วน(ชาวเอเซียใช้ดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 23)
  • ออกกำลัง สัปดาห์ละ 150 นาที โดยการเดินให้เร็ววิ่งสลับกับเดินเร็ว
  1. การใช้ยาเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน  มีการใช้ยา 3 ชนิดในการป้องกันโรคเบาหวาน โดยใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง
  • Metformin สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานลงได้ร้อยละ 31 ใช้ได้ผลดีกับผู้ที่อายุน้อย 20-44 ปี และอ้วน
  • Acarbose สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 32
  • Troglitazone สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 56
การป้องกันโรคเบาหวานจะใช้ยาหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
แนะนำให้ใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนื่องจากสามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 58 ในขณะที่ใช้ยาลดได้ร้อยละ 36 และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในขณะที่ใช้ยายังไม่มีรายงานดังกล่าว นอกจากนั้นการใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา


 เป้าหมายของการควบคุมโรคเบาหวาน  
1. ความดันโลหิตต่ำกว่า 135/85 มม.ปรอท
2. ระดับคอเลสเตอรอล“เลว”(คือ LDL) ต่ำกว่า 115 มก./ดล.
3. ระดับคอเลสเตอรอล “ดี (คือ HDL) สูงกว่า 46 มก./ดล.
4. ระดับไตรกลีเซอไรด์ ต่ำกว่า 150 มก/ดล
5. ควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้ได้  HbA1c ต่ำกว่า 7%
อ้างอิง