วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน


การวินิจฉัย วิธีที่ดีที่สุดในการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน คือ 
การตรวจหาน้ำตาลในเลือดมักทำการตรวจเลือดในตอนเช้าหลังงดอาหารประมาณ 6 ชั่วโมง แต่การตรวจเลือดทำให้ค่อนข้างยากในชนบท เพราะราคาแพงและต้องการเครื่องมือพิเศษ ดังนั้น เราอาจจะใช้การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะแทน ซึ่งจะใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ได้ดีพอสมควร โดยที่การตรวจปัสสาวะทำได้ง่าย และราคาถูกกว่า แม้ผลที่ได้จะไม่แน่นอนเท่ากับการตรวจเลือดก็ตาม การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ ถ้าตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะเกินกว่า 1+ ขึ้นไปควรแนะนำให้ไปตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่า เป็นเบาหวานอีกครั้งที่โรงพยาบาล

โรคแทรกซ้อน

โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับโรคเบาหวาน แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

ก. ประเภทเฉียบพลัน
ข. ประเภทเรื้อรัง

ก. ประเภทเฉียบพลัน เป็นโรคแทรกที่เกิดขึ้นหลังจากเป็นเบาหวานในเวลาไม่นานนัก อันตรายมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพและการรักษา มีดังต่อไปนี้
การติดเชื้อโรคได้ง่าย เนื่องจากการที่น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวในการต้านทานเชื้อโรคลดลง การติดเชื้อพบได้ในแทบทุกอวัยวะ
ภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูงมากหรือต่ำมาก ซึ่งสามารถเปรียบเทียบอาการทั้ง 2 ได้จากตาราง
ตารางเปรียบเทียบอาการแสดงของผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำและสูง

ข. ประเภทเรื้อรัง เป็นโรคแทรกที่เกิดขึ้นหลังเป็นเบาหวานในเวลานานๆ อาจนานนับ 10 ปี เกิดขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ( Microvascular) และหลอดเลือดโต (Macrovascular) ซึ่งจะนำไปสู่พยาธิสภาพเรื้อรังและถึงตายได้
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
โรคความดันเลือดสูงในโรคเบาหวานพบได้ประมาณ 2 เท่าของคนไม่เป็นโรคเบาหวานเกิดเนื่องจากมีอินซูลินในร่างกายมากโดยกลไกเกิดขึ้นที่ท่อไต ทำให้มีการคั่งของเกลือโซเดียมเพิ่มปริมาตรของเลือดขึ้น และภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เพิ่มปริมาตรในเลือดเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดความดันเลือดสูงได้

หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปที่หัวไหล่โดยเฉพาะข้างซ้าย อาจมีอาการหอบเหนื่อยจากหัวใจล้มเหลว เสียชีวิตได้โดยเฉียบพลัน

หลอดเลือดสมองตีบตัน ทำให้เป็นอัมพาต บางรายอาจมีอาการกลืนลำบาก พูดไม่ชัด การทำงานของสมองเลวลง

โรคของจอตา พยาธิสภาพเกิดขึ้นที่จอตา มีเลือดออก ขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้ตามองไม่เห็น

เส้นเลือดที่เท้าอุดตัน ทำให้เกิดเนื้อเน่าและเป็นแผลหายยาก

ไตวาย เริ่มแรกจะมีอาการบวม อ่อนเพลีย ต่อมาเมื่อไตเสียมากจะมีของเสียคั่งในร่างกายทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนในที่สุดจะปัสสาวะลดลงและเสียชีวิต

ประสาทอักเสบ ทำให้มีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า ปัสสาวะลำบาก หมดความรู้สึกทางเพศ ท้องผูกสลับท้องเดิน

โรคแทรกของเบาหวานดังกล่าวแล้วพบได้เกือบทุกอวัยวะ โดยเฉพาะโรคแทรกเรื้อรังทำการรักษาได้ยากมาก และมักไม่หายขาด ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกเหล่านี้ขึ้น จึงเป็นวิธีที่ดีมาก การป้องกันนี้ทำได้โดยควบคุมรักษาเบาหวานให้ดี ต้องทำให้เร็วที่สุด และทำโดยสม่ำเสมอ จึงจะได้ผล

การวินิจฉัยการดูแลรักษา

หลักการของการให้การรักษาได้แก่
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
โภชนาการด้วยการควบคุมอาหาร

เนื่องจากโรคเบาหวานไม่สามารถใช้น้ำตาลได้เช่นคนปกติ จึงมีความจำเป็นต้องให้การควบคุมอาหาร เพื่อให้น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ หลักในการควบคุมอาศัยหลักสำคัญ 3 ประการคือ1.1 ปริมาณอาหาร ควรจะเพียงพอกับพลังงานที่ร่างกายใช้ในแต่ละวัน ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวคงที่
1.2 ส่วนประกอบของอาหารที่รับประทาน ยึดหลักอาหาร 5 หมู่ แต่ต้องปรับให้เหมาะสมคือ
(1) งดอาหารที่มีน้ำตาลทุกชนิด
(2) ลดอาหารจำพวกแป้ง
(3) รับประทานอาหารประเภทผักให้มากขึ้น
(4) อาหารประเภทโปรตีน แต่เนื้อสัตว์ไม่ควรติดมัน
(5) งดไขมันจากสัตว์ทุกชนิด ใช้น้ำมันพืชแทน
(6) งดกะทิ หนังสัตว์ทุกชนิด
(7) งดดื่มเหล้า เบียร์ บุหรี่
1.3 การแบ่งมื้ออาหาร ควรกระจายอาหารออกเป็นมื้อบ่อยๆ รับประทานทีละน้อย แต่รับประทานทุกมื้อ 
ยาลดน้ำตาลในเลือด
ยาลดน้ำตาลแบ่งเป็น 2 ชนิด
2.1 ยารักษาเบาหวานชนิดฉีด
2.2 ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน

ในโรคเบาหวานมีความจำเป็นมากจะต้องใช้ยาตามแพทย์สั่งทั้งขนาดและจำนวน สำหรับยารักษาเบาหวานชนิดฉีด ควรฉีดยาก่อนอาหาร ประมาณ 30 นาที
ยาสมุนไพร ใช้รักษาเบาหวาน ยังไม่มียาสมุนไพรใดที่มีสรรพคุณแน่นอนในการรักษาโรคเบาหวาน ในปัจจุบันการค้นคว้าวิจัยยังกระทำอยู่

การออกกำลังกายที่เหมาะสม
การออกกำลังกายช่วยได้หลายประการ คือ
3.1 ทำให้กล้ามเนื้อใช้น้ำตาลเป็นพลังงานมากขึ้น ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
3.2 ช่วยให้น้ำหนักลดลง
3.3 ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ซึ่งช่วยลดโรคแทรกของเบาหวานบางอย่างลงได้


การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน
4.1 ควบคุมอาหารอย่าปล่อยให้อ้วน ไม่รับประทานของหวาน
4.2 ออกกำลังกายพอควรและสม่ำเสมอ ตามสภาพที่ร่างกายอำนวยให้
4.3 หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะ เพื่อดูระดับน้ำตาลในร่างกาย
4.4 รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัดและสม่ำเสมอ
4.5 งดบุหรี่ สุราและของเค็ม
4.6 ดูแลรักษาเท้าให้สะอาดอยู่เสมอเพราะเมื่อมีบาดแผลจะทำให้แผลหายช้า
4.7 ทำจิตใจให้สบาย
4.8 มีท๊อฟฟี่หรือน้ำตาลไว้ เพื่อป้องกันการหมดสติจากน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
4.9 ถ้ามีแผลหรือมีความผิดปกติใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที การตัดเล็บโดยเฉพาะเล็บเท้า ไม่ควรตัดสั้นติดผิวหนัง


การป้องกัน

1. รับประทานอาหารให้ถูกหลักและคงที่ โดยรับประทานพวกแป้งชนิดไม่หวาน เช่น ข้าว หลีกเลี่ยงพวกน้ำตาล อาหารโปรตีนควรได้จากพืชหรือสัตว์ ไขมันจากพืช เช่น ข้าวโพดและพวกผักเพราะส่วนใหญ่เป็นการทำให้การดูดซึมอาหารของลำไส้ช้าลง ทำให้น้ำตาลในเลือดไม่สูงมาก
2. การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้วยังทำให้เนื้อเยื่อของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อเอาน้ำตาลไปใช้เพิ่มขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงไป
การส่งต่อผู้ป่วย
ในกรณีต่อไปนี้ ควรนำส่งผู้ป่วยไปยังสถานบริการสาธารณสุข
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
ในผู้สูงอายุที่สงสัยว่าจะเป็นเบาหวานแล้วมาตรวจปัสสาวะพบว่า น้ำตาลในปัสสาวะ 1+ ขึ้นไปและนัดมาตรวจซ้ำอีกใน 1 สัปดาห์ต่อมาพบว่าผลการตรวจน้ำตาลในปัสสาวะยัง 1+ ขึ้นไป ให้แนะนำหรือส่งต่อผู้สูงอายุ เพื่อมาตรวจน้ำตาลในเลือดที่ รพ.ชุมชน หรือสถานบริการต่อไป
ผู้ป่วยหมดสติ ผู้ป่วยเบาหวานจะหมดสติได้จากหลายสาเหตุ เหตุที่สำคัญคือ น้ำตาลในเลือดต่ำจากการให้ยาเบาหวานมากเกินไป หรือผู้ป่วยกินอาหารไม่สม่ำเสมอ กรณีน้ำ อาจพบอาการใจสั่งเหงื่อออกมาก วิงเวียนศีรษะนำมาก่อนหมดสติ เมื่อพบผู้ป่วยเบาหวานหมดสติ ควรให้กินน้ำตาล ถ้าพอกินได้ใช้น้ำตาลหรือน้ำเชื่อมใส่ไปในปากผู้ป่วยถ้ากินเองไม่ได้ (ระวังอย่าให้สำลัก) หากยังไม่ฟื้นต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เพราะน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่นาน จะรักษาไม่ได้)
สาเหตุอื่นที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานหมดสติ ได้แก่
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
น้ำตาลในเลือดสูงมากๆ กรณีนี้เป็นภาวะฉุกเฉินซึ่งต้องรีบรักษาเช่นกัน ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
เจ็บแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย เกิดเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนเช่นกัน
เป็นแผลที่เท้าที่ทำท่าจะลุกลาม แผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานจะลุกลามได้รวดเร็วมาก บางครั้งอาจลุกลามไปทั่วขาในเวลาเพียง 2-3 วันเท่านั้น ถ้าผู้ป่วยเบาหวานเป็นแผลแล้วทำท่าจะลุกลามมากขึ้นต้องรีบนำส่งสถานบริการสาธารณสุข
ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ 3+ หรือ 4+ ติดต่อกันหลายๆ ครั้ง แสดงว่า การควบคุมเบาหวานยังไม่ดีพอ ภาวะนี้ยังไม่ฉุกเฉินเท่ากับภาวะอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็ควรไปให้แพทย์ตรวจดูอีกครั้งว่าทำไมจึงควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี เพื่อป้องกันโรคแทรกที่รุนแรงอื่นๆ ต่อไป


การวินิจฉัย
 วิธีที่ดีที่สุดในการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน คือ 
การตรวจหาน้ำตาลในเลือดมักทำการตรวจเลือดในตอนเช้าหลังงดอาหารประมาณ ชั่วโมง แต่การตรวจเลือดทำให้ค่อนข้างยากในชนบท เพราะราคาแพงและต้องการเครื่องมือพิเศษ ดังนั้น เราอาจจะใช้การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะแทน ซึ่งจะใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ได้ดีพอสมควร โดยที่การตรวจปัสสาวะทำได้ง่าย และราคาถูกกว่า แม้ผลที่ได้จะไม่แน่นอนเท่ากับการตรวจเลือดก็ตาม การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ ถ้าตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะเกินกว่า 1+ ขึ้นไปควรแนะนำให้ไปตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่า เป็นเบาหวานอีกครั้งที่โรงพยาบาล

โรคแทรกซ้อน

โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับโรคเบาหวาน แบ่งออกได้เป็น ประเภท

ก. ประเภทเฉียบพลัน
ข. ประเภทเรื้อรัง

ก. ประเภทเฉียบพลัน เป็นโรคแทรกที่เกิดขึ้นหลังจากเป็นเบาหวานในเวลาไม่นานนัก อันตรายมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพและการรักษา มีดังต่อไปนี้
การติดเชื้อโรคได้ง่าย เนื่องจากการที่น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวในการต้านทานเชื้อโรคลดลง การติดเชื้อพบได้ในแทบทุกอวัยวะ
ภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูงมากหรือต่ำมาก ซึ่งสามารถเปรียบเทียบอาการทั้ง ได้จากตาราง
ตารางเปรียบเทียบอาการแสดงของผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำและสูง

ข. ประเภทเรื้อรัง เป็นโรคแทรกที่เกิดขึ้นหลังเป็นเบาหวานในเวลานานๆ อาจนานนับ 10 ปี เกิดขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ( Microvascular) และหลอดเลือดโต (Macrovascular) ซึ่งจะนำไปสู่พยาธิสภาพเรื้อรังและถึงตายได้
โรคความดันเลือดสูงในโรคเบาหวานพบได้ประมาณ เท่าของคนไม่เป็นโรคเบาหวานเกิดเนื่องจากมีอินซูลินในร่างกายมากโดยกลไกเกิดขึ้นที่ท่อไต ทำให้มีการคั่งของเกลือโซเดียมเพิ่มปริมาตรของเลือดขึ้น และภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เพิ่มปริมาตรในเลือดเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดความดันเลือดสูงได้

หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปที่หัวไหล่โดยเฉพาะข้างซ้าย อาจมีอาการหอบเหนื่อยจากหัวใจล้มเหลว เสียชีวิตได้โดยเฉียบพลัน

หลอดเลือดสมองตีบตัน ทำให้เป็นอัมพาต บางรายอาจมีอาการกลืนลำบาก พูดไม่ชัด การทำงานของสมองเลวลง

โรคของจอตา พยาธิสภาพเกิดขึ้นที่จอตา มีเลือดออก ขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้ตามองไม่เห็น

เส้นเลือดที่เท้าอุดตัน ทำให้เกิดเนื้อเน่าและเป็นแผลหายยาก

ไตวาย เริ่มแรกจะมีอาการบวม อ่อนเพลีย ต่อมาเมื่อไตเสียมากจะมีของเสียคั่งในร่างกายทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนในที่สุดจะปัสสาวะลดลงและเสียชีวิต

ประสาทอักเสบ ทำให้มีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า ปัสสาวะลำบาก หมดความรู้สึกทางเพศ ท้องผูกสลับท้องเดิน

โรคแทรกของเบาหวานดังกล่าวแล้วพบได้เกือบทุกอวัยวะ โดยเฉพาะโรคแทรกเรื้อรังทำการรักษาได้ยากมาก และมักไม่หายขาด ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกเหล่านี้ขึ้น จึงเป็นวิธีที่ดีมาก การป้องกันนี้ทำได้โดยควบคุมรักษาเบาหวานให้ดี ต้องทำให้เร็วที่สุด และทำโดยสม่ำเสมอ จึงจะได้ผล

การวินิจฉัยการดูแลรักษา

หลักการของการให้การรักษาได้แก่

 
โภชนาการด้วยการควบคุมอาหาร

เนื่องจากโรคเบาหวานไม่สามารถใช้น้ำตาลได้เช่นคนปกติ จึงมีความจำเป็นต้องให้การควบคุมอาหาร เพื่อให้น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ หลักในการควบคุมอาศัยหลักสำคัญ ประการคือ

1.1 ปริมาณอาหาร ควรจะเพียงพอกับพลังงานที่ร่างกายใช้ในแต่ละวัน ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวคงที่

1.2 ส่วนประกอบของอาหารที่รับประทาน ยึดหลักอาหาร หมู่ แต่ต้องปรับให้เหมาะสม คือ
 
(1) งดอาหารที่มีน้ำตาลทุกชนิด
(2) ลดอาหารจำพวกแป้ง
(3) รับประทานอาหารประเภทผักให้มากขึ้น
(4) อาหารประเภทโปรตีน แต่เนื้อสัตว์ไม่ควรติดมัน
(5) งดไขมันจากสัตว์ทุกชนิด ใช้น้ำมันพืชแทน
(6) งดกะทิ หนังสัตว์ทุกชนิด
(7) งดดื่มเหล้า เบียร์ บุหรี่


1.3 การแบ่งมื้ออาหาร ควรกระจายอาหารออกเป็นมื้อบ่อยๆ รับประทานทีละน้อย แต่รับประทานทุกมื้อ 

ยาลดน้ำตาลในเลือด
ยาลดน้ำตาลแบ่งเป็น ชนิด

ยารักษาเบาหวานชนิดฉีด
ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน

    ในโรคเบาหวานมีความจำเป็นมากจะต้องใช้ยาตามแพทย์สั่งทั้งขนาดและจำนวน สำหรับยารักษาเบาหวานชนิดฉีด ควรฉีดยาก่อนอาหาร ประมาณ 30 นาที
    ยาสมุนไพร ใช้รักษาเบาหวาน ยังไม่มียาสมุนไพรใดที่มีสรรพคุณแน่นอนในการรักษาโรคเบาหวาน ในปัจจุบันการค้นคว้าวิจัยยังกระทำอยู่

การออกกำลังกายที่เหมาะสม

การออกกำลังกายช่วยได้หลายประการ คือ
ทำให้กล้ามเนื้อใช้น้ำตาลเป็นพลังงานมากขึ้น ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
ช่วยให้น้ำหนักลดลง
ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ซึ่งช่วยลดโรคแทรกของเบาหวานบางอย่างลงได้


การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน

ควบคุมอาหารอย่าปล่อยให้อ้วน ไม่รับประทานของหวาน
ออกกำลังกายพอควรและสม่ำเสมอ ตามสภาพที่ร่างกายอำนวยให้
หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะ เพื่อดูระดับน้ำตาลในร่างกาย
รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัดและสม่ำเสมอ
งดบุหรี่ สุราและของเค็ม
ดูแลรักษาเท้าให้สะอาดอยู่เสมอเพราะเมื่อมีบาดแผลจะทำให้แผลหายช้า
ทำจิตใจให้สบาย
มีท๊อฟฟี่หรือน้ำตาลไว้ เพื่อป้องกันการหมดสติจากน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
ถ้ามีแผลหรือมีความผิดปกติใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที การตัดเล็บโดยเฉพาะเล็บเท้า ไม่ควรตัดสั้นติดผิวหนัง


การป้องกัน

1. รับประทานอาหารให้ถูกหลักและคงที่ โดยรับประทานพวกแป้งชนิดไม่หวาน เช่น ข้าว หลีกเลี่ยงพวกน้ำตาล อาหารโปรตีนควรได้จากพืชหรือสัตว์ ไขมันจากพืช เช่น ข้าวโพดและพวกผักเพราะส่วนใหญ่เป็นการทำให้การดูดซึมอาหารของลำไส้ช้าลง ทำให้น้ำตาลในเลือดไม่สูงมาก

2. การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้วยังทำให้เนื้อเยื่อของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อเอาน้ำตาลไปใช้เพิ่มขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงไป
การส่งต่อผู้ป่วย
    ในกรณีต่อไปนี้ ควรนำส่งผู้ป่วยไปยังสถานบริการสาธารณสุข
ในผู้สูงอายุที่สงสัยว่าจะเป็นเบาหวานแล้วมาตรวจปัสสาวะพบว่า น้ำตาลในปัสสาวะ 1+ ขึ้นไปและนัดมาตรวจซ้ำอีกใน สัปดาห์ต่อมาพบว่าผลการตรวจน้ำตาลในปัสสาวะยัง 1+ ขึ้นไป ให้แนะนำหรือส่งต่อผู้สูงอายุ เพื่อมาตรวจน้ำตาลในเลือดที่ รพ.ชุมชน หรือสถานบริการต่อไป
    ผู้ป่วยหมดสติ ผู้ป่วยเบาหวานจะหมดสติได้จากหลายสาเหตุ เหตุที่สำคัญคือ น้ำตาลในเลือดต่ำจากการให้ยาเบาหวานมากเกินไป หรือผู้ป่วยกินอาหารไม่สม่ำเสมอ กรณีน้ำ อาจพบอาการใจสั่งเหงื่อออกมาก วิงเวียนศีรษะนำมาก่อนหมดสติ เมื่อพบผู้ป่วยเบาหวานหมดสติ ควรให้กินน้ำตาล ถ้าพอกินได้ใช้น้ำตาลหรือน้ำเชื่อมใส่ไปในปากผู้ป่วยถ้ากินเองไม่ได้ (ระวังอย่าให้สำลัก) หากยังไม่ฟื้นต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เพราะน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่นาน จะรักษาไม่ได้)
     สาเหตุอื่นที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานหมดสติ ได้แก่  น้ำตาลในเลือดสูงมากๆ กรณีนี้เป็นภาวะฉุกเฉินซึ่งต้องรีบรักษาเช่นกัน ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล  เจ็บแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย เกิดเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนเช่นกัน เป็นแผลที่เท้าที่ทำท่าจะลุกลาม แผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานจะลุกลามได้รวดเร็วมาก บางครั้งอาจลุกลามไปทั่วขาในเวลาเพียง 2-3 วันเท่านั้น ถ้าผู้ป่วยเบาหวานเป็นแผลแล้วทำท่าจะลุกลามมากขึ้นต้องรีบนำส่งสถานบริการสาธารณสุข ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ 3+ หรือ 4+ ติดต่อกันหลายๆ ครั้ง แสดงว่า การควบคุมเบาหวานยังไม่ดีพอ ภาวะนี้ยังไม่ฉุกเฉินเท่ากับภาวะอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็ควรไปให้แพทย์ตรวจดูอีกครั้งว่าทำไมจึงควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี เพื่อป้องกันโรคแทรกที่รุนแรงอื่นๆ ต่อไป

อ้างอิง  
http://bnsgroup001eau.blogspot.com/2012/09/diabetes.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น