วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

วิธีการฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน



เบาหวาน (Diabetes Mellitus)

     เป็นโรคที่เรื้อรังและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สิ่งที่ทำได้คือการประคับประคองไม่ให้เกิดอาการของโรคแทรกซ้อนซึ่งจะทำให้อาการหนักมากขึ้น เบาหวานเป็นโรคที่หากไม่เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาแต่หากเกิดขึ้นกับตัวเองแล้วจะเกิดอาการกลัว ตกใจและสับสนซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเบาหวานเอง



สุขภาพจิตของผู้ป่วยเบาหวานจะแสดงออกได้หลายลักษณะ บางคนเมื่อรู้ว่าเป็นเบาหวานจะเกิดการต่อต้านและรู้สึกฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายที่ต้องมีภาระในการบำบัดรักษาเบาหวานทำให้กิจวัตรประจำวันของตนเองต้องเปลี่ยนไป บางคนอาจเกิดอาการไม่ยอมรับความจริง ไม่กล้าไปพบแพทย์ ไม่ยอมรับฟังคำอธิบายเกี่ยวกับโรคเบาหวานจากใครทั้งสิ้น บางคนเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นเบาหวานจะพยายามปกปิดและทำตัวเหมือนไม่ได้เป็นเบาหวาน เมื่อต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็จะพยายามควบคุมทุกอย่างให้คนรอบข้างเห็นว่าไม่ได้เป็นเบาหวานแต่หลังจากนั้นก็ปล่อยปละละเลยเช่นเดิม


     ผู้ป่วยเบาหวานบางคนก็ยอมรับความจริงให้ความร่วมมือและพยายามที่จะบำบัดรักษาโรคเบาหวานที่เกิดกับตัวเอง ไม่ว่าสุขภาพจิตและอารมณ์ของผู้ป่วยเบาหวานจะแสดงออกมาในลักษณะใด สมาชิกในครอบครัวหรือคนรอบข้างควรเข้าใจและให้กำลังใจพยายามอธิบายให้ผู้ป่วยเบาหวานเข้าใจถึงสาเหตุและวิธีการรักษาโรคเบาหวานด้วยความมีเหตุมีผล ให้ผู้ป่วยเบาหวานพยายามปรับตัวให้เข้ากับกิจวัตรประจำวันในรูปแบบใหม่เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถอยู่กับเบาหวานได้อย่างคนปกติ

     สิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องปรับตัวคือ หมั่นมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอและตั้งใจปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ด้วยความพยายาม การปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์จะมีเป้าหมายอยู่ที่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับคนปกติโดยมีแผนการรักษาคือ ควบคุมอาหาร(ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร) ออกกำลังกายและมาพบแพทย์ตามกำหนดเพื่อตรวจร่างกายและประเมินอาการโรคเบาหวานเพื่อหาทางปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาโรคเบาหวานให้เหมาะสมกับตัวผู้ป่วย

     สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถเผชิญหน้าและอยู่กับโรคเบาหวานได้คือ ตัวผู้ป่วยเอง หากตัวผู้ป่วยท้อแท้ไม่ยอมช่วยเหลือตัวเองหรือให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาเบาหวานก็ยากที่จะประคับประคองให้อยู่กับโรคเบาหวานอย่างปกติสุขได้ คนรอบข้างหรือสมาชิกในครอบครัวคงทำได้แค่ให้กำลังใจ ปลอบใจ อธิบายด้วยเหตุผลเพื่อให้ตัวผู้ป่วยเองเกิดความรักตัวเองและเข้าใจถึงความห่วงใยของคนรอบข้างทำให้เกิดกำลังใจในการรักษาตนเอง ถึงแม้โรคเบาหวานไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่มีคนจำนวนมากที่ตั้งใจรักษาดูแลสุขภาพพยายามควบคุมและอยู่กับโรคเบาหวานจนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เหมือนกับคนปกติ

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

ประเมินผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยใช้กรอบอ้างอิง Biopsychosocial model ในการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆของผู้ป่วยดังนี้
Biopsychosocial model 
Biological  ฮอร์โมน Insulin ในร่างกายผิดปกติ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง, และเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง รวมถึงเมื่อเกิดบาดแผลจะทำให้แผลนั้นหายได้ยาก, บางคนมีโรคอ้วนเกิดขึ้นร่วมด้วย ทำให้มีอาการล้าในการทำกิจกรรม มีปัญหากับกระดูกและข้อต่อ
Psychological  ความเครียดจากสภาพจิตใจไม่ควรให้เกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะเบาหวานมักจะมีโรคความดันสูงร่วมด้วย อาจทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตกได้ การสร้างความคิดในการควบคุมน้ำตาลจากการกินก็มีส่วนช่วยลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้น
Sociological   อาหารจานด่วนจากตะวันตก เป็นค่านิยมที่สร้างให้บริบทสังคมไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น และคนที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วก็ทำให้แย่ลงไปอีก
จากนั้นก็ประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน ว่าสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ หรือลดลง ถ้าลดลงให้ทำการให้แผนการบำบัดฟื้นฟูตามส่วนที่สำคัญให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้
ให้คำแนะนำทั้งผู้ป่วย และญาติเกี่ยวกับโปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับนักกายภาพบำบัด รวมถึงการจัดท่าทางในการนั่ง – นอนเพื่อป้องกันแผลกดทับ
ปรับสภาพแวดล้อมต่างๆให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้แรงมากในการเอื้อมหยิบจับ และลดกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก ควบคุมเมนูอาหารให้เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และเมื่อทำการให้คำแนะนำ บำบัดฟื้นฟูแล้ว ก็นัดผู้ป่วยกลับมาประเมินอีกรอบเพื่อดูผลลัพธ์ การตั้งเป้าประสงค์ที่ดีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยเบาหวาน

อ้างอิง 


1 ความคิดเห็น: