วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

เรื่องของเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน




      แผลหรือปัญหาของเท้าเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยพิการ และอาจถึงเสียชีวิตได้ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีปัญหาเรื่องเส้นประสาทที่ปลายเท้าเสื่อม

     ซึ่งหากมีอาการบาดเจ็บที่เท้า อาจไม่ทราบความรู้สึก นอกจากมีเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงปลายเท้าในผู้ป่วยตัน ทำให้สารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณ เท้าลดน้อยลง ดังนั้นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยจึงอาจเป็นผลร้ายแรงที่รักษาได้อาการ หากขาดการดุแลรักษาจากแพทย์ แผลนั้นอาจรุนแรงจึงถึงขั้นต้องตัดเท้า
โดยมีลักษณะของอาการ    ดังต่อไปนี้
 • เท้ามีแผล ผิวเปลี่ยนสี มีตาปลาหรือรอยหนาด้านปูดโปนมากบวม มีตุ่มพอง หรือมีร่องรอยการบาดเจ็บอื่นๆ
 • เกิดเชื้อราที่เท้า
 • เล็บขบ เท้ามีรอยแดง หรือผิวแห้งแตก
 • ปวดเท้า รู้สึกชา หรือเจ็บแปลม และรู้สึกแสบร้อนในเท้า

ข้อพึงระวังและปฏิบัติในการดูแลเท้า สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

สำรวจเท้าด้วยตนเองทุกวัน ถ้ามีบาดแผล รอยซ้ำ ผิวเปลี่ยนสี หรือตุ่มพอง แม้นเพียงเล็กน้อย ต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที
รักษาเท้าให้สะอาด ล้างทุกวัน และเช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะที่ซอกนิ้วเท้า
ถ้าผิวแห้งเกินไปให้ทาวาสลีน หรือครีมบางๆ เนื่องจากผิวแห้ง อาจทำให้เกิดอาการคัน มีการเกิดรอยแตกได้ง่าย

การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมดังนี้
ควรเลือกซื้อรองเท้าในช่วงบ่าย เพราะเป็นเวลาที่เท้าขยายตัวมากที่สุด
ขนาดความยาว ของรองเท้าขณะยืน ควรจะยาวกว่านิ้วเท้าที่ยาวที่สุดประมาณครึ่งนิ้ว
ส่วนกว้างของรองเท้าควรจะอยู่บริเวณโคนของหัวแม่เท้า
ไม่หลวมหรือคับเกินไป และควรเป็นรองเท้าหุ้มสัน
วัสดุที่ใช้ทำรองเท้าควรมีลักษณะนิ่ม ควรเป็นชนิดที่มีเชือกผูก เพื่อให้ปรับได้ง่ายเวลาที่เท้าขยายตัว
ถ้ารองเท้าใหม่อย่าสวมนานเกินวันละครึ่งถึง 1 ชั่วโมง หากใส่รองเท้าคู่ใดเกิดรอยแดงรอยด้าน หรือตุ่มพองที่เท้า นั่นเป็นสัญญาณเตือนของรองเท้าที่ไม่เหมาะสม
ไม่ควรใช้รองเท้าแตะชนิดที่มีคีบง่ามนิ้วเท้า
ถ้ามีหูดหรือตาปลาควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตัดบางๆ ทุก 6-7 สัปดาห์
งดสูบบุหรี่เมื่อเกิดแผลที่เท้า

      ถ้าเป็นแผลขนาดเล็ก หรือตุ่มพอง รักษาบาดแผลให้สะอาดทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสุกที่ทิ้งไว้จนเย็นและสบู่อ่อน วับแผลให้แห้ง ทายาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ เช่นน้ำยาเบตาดีน หรือยาปฏิชีวนะที่เป็นครีม หลีกเลี่ยงการใช้ยาทิงเจอร์ไอโอดีน ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซที่สะอาด ถ้ามีแผลและไม่ดีขึ้น อักเสบบวมแดงควรไปพบแพทย์

การรักษาควรจะตรวจเท้าอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
 ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจการไหลเลือดเวียนเลือด
 ตรวจดูว่ามีอาการแสดงของเส้นประสาทเสื่อมหรือไม่
 ตรวจแผล รอยแตก หูด ตาปลา และลักษณะเล็บ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น