วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

การปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันโรคเบาหวาน





ปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้เป็นโรคเบาหวาน

1. โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีมีระดับน้ำตาลสูงในเลือด
2. การสูบบุหรี่
3. โรคอ้วน
4. มีชีวิตที่อยู่นิ่ง ๆ ไม่มีการออกแรง
5. ความดันโลหิตสูง
6. ระดับไขมันในเลือดสูง เช่น คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์
7. ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป
8. อายุสูงมากขึ้น
9. ประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
10. ดื่มเหล้าเบียร์มาก
11. สตรีวัยหมดประจำเดือน
12. ภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่ออินซูลินที่ร่างกายสร้างขึ้นไม่ออกฤทธิ์ทำงานได้เหมาะสม
13. กล้ามเนื้อหัวใจซีกซ้ายโต

 การควบคุมป้องกัน และลดความเสี่ยง ทำได้โดยพยายามลดความเสี่ยงทั้งหลายเหล่านั้นให้มากที่สุดที่จะทำได้ แม้ว่าปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุ  เพศ  และประวัติครอบครัว เป็นโรคบาหวานปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนไม่ได้ ควรคัดกรองควบคุมปัจจัยที่ทำได้ โดยการปรับปรุงวิถีชีวิต ดังนี้

- งดบุหรี่
- ลดความอ้วน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ลดความดันโลหิตสูง (ตรวจทุกครั้งที่ไปปรึกษา)
- แก้ไข ไขมันในเลือดที่ผิดปกติให้กลับคืนดี(ตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง)
- ควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้อยู่ในระดับที่ดี
- งด หรือ ลดดื่มเหล้า เบียร์ และของมึนเมา
- รักษาภาวะที่ดื้อต่ออินซูลิน
- รับประทานยาให้สม่ำเสมอตามคำสั่งของแพทย์ผู้รกษา
- ชีวิตที่มีสุขภาพซึ่งเหมาะสมจะปฏิบัติตัวอย่างไร

มื่อยังไม่เป็นเบาหวาน ควรปฏิบัติตัวเพื่อสุขภาพ ทำได้โดยปรับปรุงวิถีชีวิต คือ

1. ออกำลังกายให้มากขึ้น
2. เดินให้มากขึ้น ไม่อาศัยพาหนะถ้าทำได้
3. ระวังเรื่องอาหาร พวกอาหาร"จานด่วน" มักจะมีไขมันสูง
4. ระวังน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติไม่อ้วน ไม่ผอม 


ถ้าเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว เราสามารถช่วยสุขภาพของโรคหัวใจและหลอดเลือดให้บรรเทาได้ โดย 

- ลดน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ให้ต่ำลงมาให้เข้าเกณฑ์มาตรฐาน 
- ละเว้นการสูบบุหรี่ 
- รับประทานอาหารสุขภาพให้ได้สมดุลกัน คือ 
     1. ลดอาหารที่มีไขมัน 
     2. ลดอาหารเค็ม 
     3. ลดขนมหวาน ผลไม้หวาน 
     4. รับประทานอาหารจำพวกที่มีใยอาหารมากๆ รับประทานผักชนิดต่าง ๆ 
     5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 
     6. ควบคุมรักษาความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดให้ดี  

เหตุผลในการป้องกันโรคเบาหวาน
  1. การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกโรครวมทั้งโรคเบาหวาน หากไม่เป็นเบาหวานจะลดภาระทั้งตัวเอง ครอบครัว และประเทศ
  2. พบว่าผู้ที่มีน้ำตาลอยู่ระหว่า 100-125 มก.%จะมีโอกาศเป็นเบาหวานสูงมาก
  3. มีการตรวจหาภาวะ Prediabetes ซึ่งสะดวก ค่าใช้จ่ายไม่มาก และสามารถบ่งชี้การเป็นเบาหวานในอนาคต ได้แก่การตรวจน้ำตาลในเลือด การตรวตค่าน้ำตาลเฉลี่ย และการตรวจความทนทานต่อน้ำตาล oral glucose tolerance test
  4. มีแนวทางในการดูแลเพื่อป้องกันโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพ หากดูแลตัวเองได้ดีจะมีอุบัติการณ์ลดลงถึงร้อยละ 58
  5. ค่าใช่จ่ายในการคัดกรองไม่แพง
การป้องกันโรคเบาหวานทำได้หรือไม่
มีรายงานการป้องกันโรคเบาหวานมา 4 รายงาน
  • โดย 2 รายงานแรกใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้ลดน้ำหนักลงร้อยละ 5-8 % ลดปริมาณไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 10 ๔ เพิ่มอาหารที่มีใยอาหารมากกว่า 15 กรัม ออกกำลังกายมากกว่าสัปดาห์ละ 150 นาที ซึ่งผลการศึกษาพบว่าลดการเกิดโรคเบาหวานลงได้ 58%
  • ส่วนอีกสองรายงานใช้ยาในการป้องกันโรคเบาหวาน ผลสามารถลดการเกิดโรคเบาหวานลงได้ร้อยละ 36-56%
จากรายงานดังกล่าวโรคเบาหวานสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้ยา จึงได้มีการกำหนดแนวทางในการป้องกันโรคเบาหวาน
ใครที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน(ในประเทศอเมริกาเรียก prediabetic) หมายถึง ภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน
จากหลักฐานของการศึกษาที่ผ่านมา สรุปว่ากลุ่มคนที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ จะต้องตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงว่าต่อไปอนาคตจะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่
  1. ผู้ป่วยอายุ 45 ปีและมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25อ่านการคำนวนดัชนีมวลกาย
  2. อายุน้อยกว่า 45 ปี และมีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 25 และมีโรคเหล่านี้
  • ญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดสูงง
  • เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ผู้ที่เป็น IFG,IGT
สำหรับชาวเอเซียแนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกายเท่ากับ 23

กลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวานหรือกลุ่ม Prediabeticจะมีค่าผลเลือดเป็นอย่างไร
  1. เจาะเลือดหาระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงหากมีน้ำตาล100-125 %
  2. ให้รับประทานน้ำตาล 75 กรัมหากเจาะระดับน้ำตาลที่ 2 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 140-199
  3. ค่าน้ำตาลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง(HA1C) 5.7–6.4%
หากท่านได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น prediabetes ท่านต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานดังต่อไปนี้

วิธีการป้องกันโรคเบาหวาน

วิธีการป้องกันโรคเบาหวานสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งมีวิธีดังนี้
  • ลดน้ำหนักงลงให้ได้ร้อยละ5-7 จากน้ำหนักเบื้องต้น โดยเฉพาะผู้ที่อ้วน(ชาวเอเซียใช้ดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 23)
  • ออกกำลัง สัปดาห์ละ 150 นาที โดยการเดินให้เร็ววิ่งสลับกับเดินเร็ว
  1. การใช้ยาเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน  มีการใช้ยา 3 ชนิดในการป้องกันโรคเบาหวาน โดยใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง
  • Metformin สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานลงได้ร้อยละ 31 ใช้ได้ผลดีกับผู้ที่อายุน้อย 20-44 ปี และอ้วน
  • Acarbose สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 32
  • Troglitazone สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 56
การป้องกันโรคเบาหวานจะใช้ยาหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
แนะนำให้ใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนื่องจากสามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 58 ในขณะที่ใช้ยาลดได้ร้อยละ 36 และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในขณะที่ใช้ยายังไม่มีรายงานดังกล่าว นอกจากนั้นการใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา


 เป้าหมายของการควบคุมโรคเบาหวาน  
1. ความดันโลหิตต่ำกว่า 135/85 มม.ปรอท
2. ระดับคอเลสเตอรอล“เลว”(คือ LDL) ต่ำกว่า 115 มก./ดล.
3. ระดับคอเลสเตอรอล “ดี (คือ HDL) สูงกว่า 46 มก./ดล.
4. ระดับไตรกลีเซอไรด์ ต่ำกว่า 150 มก/ดล
5. ควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้ได้  HbA1c ต่ำกว่า 7%
อ้างอิง  

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันคือการโพสต์ข้อมูลมาก มีวันที่ดีและทำให้ชนิดเช่นโพสต์ในอนาคตอันใกล้ยัง.
    ลดเบาหวาน

    Line ID/ Instragram: naturalcodeclub
    Contact Number : 02-720-7920 (Auto 10)
    Hot Line : 087-089-1500

    ตอบลบ